วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

30 กันยายน 25556

สอนชดเชย

...กิจกรรมภายในห้อง  ให้ส่งสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ทั้งงานกลุ่มและเดี่ยว ทั้งหมด....


ความหมายของสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์

สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง

1.  นวัตกรรม หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ตามหลักการ
และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีผลการทดลองอย่างมีขั้นตอน
สามารถใช้งานได้จริง เกิดประโยชน์และใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
ได้
 2.  กรณีที่สิ่งของนั้นๆ มีอยู่เดิม ต้องเป็นการประดิษฐ์และพัฒนา
ต่อยอดให้ใช้ประโยชน์ได้ดีกว่า สะดวกกว่า ประหยัดกว่า หรือบ่งบอก
ถึงแนวคิดที่จะพัฒนาต่อไปได้อีก



ศุกร์ ที่ 27 กันยายน 2556

สัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอน

กิจกรรมภายในชั้นเรียน  cooking >> แกงจืด



............................................................................................................

ส่วนผสมเมนูต้มจืดเต้าหู้ไข่หมูสับ

หมูบด
 เต้าหู้ไข่แบบหลอด 
น้ำซุป 
รากผักชี 
กระเทียม 
พริกไทยเม็ด
 ต้มหอม
 คื่นฉ่าย 
ซอสปรุงรส 
ซีอิ้วขาว 
น้ำตาลทราย 



วิธีทำต้มจืดเต้าหู้ไข่หมูสับ

1.เตรียมเครื่องหมักหมูค่ะ ก็จะมีกระเทียม พริกไทยเม็ด รากผักชี โขลกละเอียดให้เข้ากันค่ะ  แล้วนำไปหมักกับหมูบดที่เราเตรียมไว้ค่ะ เติมซอสปรุงรส ซีอิ้วขาว และน้ำตาลทราย หมักหมูไว้ซักพัก

2.หั่นคื่นช่าย ต้นหอม และเต้าหู้ไข่เตรียมไว้

3.ตั้งน้ำซุปต้มจืดในหม้อไว้ให้เดือด จากนั้นปั้นหมูบดที่เราหมักไว้ให้เป็นก้อน  นำลงไปต้มในหม้อซุป รอจนหมูสุก

4.ใส่เต้าหู้ไข่ที่เราเตรียมไว้ลงไป รอให้น้ำซุปเดือดอีกครั้ง ปรุงรสด้วยซีอิ้วขาว น้ำตาลทราย ให้ได้รสตามชอบ นำคื่นช่ายและต้นหอมใส่ลงหม้อ แล้วปิดไฟ 

5.ตักต้มจืดใส่ชามเสิร์ฟร้อนๆ เท่านี้เป็นอันเสร็จค่ะ สำหรับเมนูต้มจืดเต้าหู้ไข่หมูสั




วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

วันอาทิตย์ ที่ 15กันยายน 2556



 cooking ไข่เจียว



สิ่งดีๆที่ได้จากการทำกิจกรรม cooking ไข่เจียว


    บอกเล่าให้ฟังว่า ก่อนที่เด็กๆจะได้ทำcooking ในวันนี้เด็กๆได้ทราบจากการบอกกล่าวมาก่อน คุณครูมีประสบการณ์ในการทำกิจกรรม cooking มาจึงมีการเตรียมพร้อมกิจกรรม ทั้ง เครื่องปรุง วัสดุอุปกรณ์ และความปลอดภัยไว้ล่วงหน้า อย่างต้นหอม ผักแครอตหั่นฝอยก็มาเตรียมตอนเช้าใหม่ๆสดๆ การกันพื้นที่สำหรับให้สังเกตกิจกรรมให้พอสมควรที่เด็กๆจะมองเห็นกระทะเจียวไข่ร้อนๆ การเปลี่ยนแปลงของไข่ที่เกิดขึ้นในกระทะ และได้กลิ่น 

วันจันทร์ ที่ 9 กันยายน 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

5 แนวทางสอนคิด เติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล


สอนวิทยาศาสตร์ เด็กวัยอน


           วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือ? ถ้าเด็กๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม? ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร? คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่
     แท้ จริงแล้ววิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของ ตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ

     ผู้ใหญ่ หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการ ค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิด ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย

ดร.วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เรา คงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"

 
ทั้ง นี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้าวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ

     ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็กๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริงๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"

     "สำหรับ ปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิดๆ ได้"

    นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้


    สำหรับ ข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็กๆ แต่อย่างใด

    ไม่เพียงแต่ คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดีๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็กๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน "วิทยาศาสตร์" ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ


ที่มา.
http://www.wattanasatitschool.com
ติดตามรายละเอียดข่าวสารดีๆเพิ่มเติมได้ที่นี่


วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

วันจันทร์ ที่ 2 กันยายน 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

กิจกกรมวันนี้คือ  เพื่อนๆแต่ละกลุ่ม ออกมา present งาน สิ่งประดิษฐืของเล่นเข้ามุม โดยมี ชื่อผลงงานดังนี่

กลุ่มที่ 1  สิ่งประดิษฐ์ของเล่นเข้ามุม  
   >> การมองเห็นผ่านวัตถุโปร่งแสง  โปร่งใส และทึบแสง

กลุ่มที่ 2 สิ่งประดิษฐ์ของเล่นเข้ามุม
   >> สัตว์ไต่เชือก

กลุ่มที่ 3  สิ่งประดิษฐ์ของเล่นเข้ามุม  
   >>  เขาวงกรต

กลุ่มที่ 4  สิ่งประดิษฐ์ของเล่นเข้ามุม  
   >> กีต้ากล่อง

กลุ่มที่ 5  สิ่งประดิษฐ์ของเล่นเข้ามุม  
   >> วงจรชีวิตสัตว์

กลุ่มที่ 6  สิ่งประดิษฐ์ของเล่นเข้ามุม  
   >> แสงกระทบวัตถุ




 










...................................................................................................