วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ



  


วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น เราสามารถเก็บข้อมูลได้มากมายเรียกใช้ข้อมูลประมวลความรู้และสื่อสารข้อมูลไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากเครื่องคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ช่ายให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในจักรวาล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเกิดความตระหนักมากขึ้นและพยายามที่เขียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล

เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก
วิทยาศาสตร์หมายถึงการสืบค้นและอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ สภาพแวดล้อมและร่างกายมนุษย์ หรือวิทยาศาสตร์หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติ โดยได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างมีขั้นตอนและมีระเบียบแบบแผน ความรู้ของข้อมูลต่างๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีหลักฐานและข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นจากการค้นพบใหม่ที่เป็นปัจจุบันและที่ดีกว่าคือ ตัวอย่างและข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่สามารถทดสอบได้ มีขอบเขต มีระเบียบกฎเกณฑ์ มีการสังเกตการจดบันทึกการตั้งสมมติฐาน และอื่นๆ วิทยาศาสตร์มีขอบข่ายการศึกษาค่อนข้างกว้างขวาง แต่โดยสรุปแล้วก็คือ การศึกษาธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งอาศัยกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่มีขั้นตอนเป็นระเบียบแบบแผนตั้งแต่สมัยโบราณ มนุษย์พยายามเรียนรู้ทำความเข้าใจและอธิบายธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา อันได้แก่ พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง และปรากฏการณ์ต่างๆ จนนำไปสู่การกำหนดหลักการ กฎเกณฑ์ และทฤษฏี อันเป็นรากฐานของการศึกษาค้นคว้าแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้ศึกษาธรรมชาติและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แล้วสรุปเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้ศึกษาความธรรมชาติและความสัมพันธ์ของสสารกับพลังงาน จนได้มาเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ เป็นต้น
Katz and Chard (1986. อ้างอิงจาก Cliatt & Shaw. 1992 : 3-4 ) อธิบายวัตถุประสงค์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ว่า ทำให้เกิดความรู้ ทักษะต่างๆ การจัดการและ ความรู้สึก ความรู้ประกอบด้วย ความคิด ข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอดและสารสนเทศ ทักษะประกอบด้วย พฤติกรรมทางร่างกาย สังคม การสื่อสารและการแสดงออกทางปัญญาเช่น การเล่นและการทำงานคนเดียวหรือกับคนอื่นๆ การแสดงความคิดผ่านภาษาโดยการพูดและการเขียน การจัดการกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยลักษณะนิสัยการทำงานด้วยความอดทน ความอยากรู้อยากเห็น การลงมือแสวงหาความรู้ด้วยการทดลองตามที่ได้วางแผนไว้ สนับสนุนให้ได้มาซึ่งความรู้ อัญชลี ไสยวรรณ(2547 :1-6 )กล่าวเพิ่มเติมว่ากิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการเรียนและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ การสนับสนุนความอยากรู้ของเด็ก กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพิ่มความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นในการทำงานร่วมกันเพื่อหาคำตอบจากคำถามทางวิทยาศาสตร์

    กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเด็กปฐมวัยมีความสำคัญหลายประการดังนี้

  1. ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้น (คือเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้)
  2. ส่งเสริมการทำงานรายบุคคลและการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาของเด็ก
  3. ยอมรับรูปแบบการเรียนรู้จากวัสดุอุปกรณ์ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่เป็นธรรมชาติ การรับรู้และความพยายามของเด็กหลายคนจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีความสำคัญต่อการรับรู้ชีวิต เรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์การทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์
  4. เพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวเองของเด็ก
  5. ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมของเด็กที่ปรากฎ เช่น การแสดงความกังวลใจ เด็กที่เกิดความเบื่อ
  6. กิจกรรมการค้นพบช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้ อยากสืบค้นต่อไป
  7. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมที่มีความยากขึ้น เด็กได้เรียนรู้ภาษาและเนื้อหาสาระแบบบูรณาการ เช่น วิธีการได้รับประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติต่อการอ่าน วิธีการสอนแบบโครงการต่อการพัฒนาหลักสูตร การใช้ประสาทสัมผัส และการใช้กล้ามเนื้ออย่างเหมาะสมกับวัย
อ้างอิง

Download เอกสารที่เกี่ยวข้อง


  • เอกสารฉบับเต็ม วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ปี 2010
  • สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์

    องค์ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

    Thai Teachers TV โทรทัศน์ครู  



    โทรทัศน์ครู ของเล่นและของใช้

         
     ** โทรทัศน์ครู  **









    ของเล่นและของใช้ คุณครูสุวรรณา ชโลวัฒนะ รร.บ้านเหมืองแร่  >>http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=3429


    จุดเด่น

              เป็นการสอนในระดับอนุบาลเพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักของใช้และของเล่น มีของจริงให้นักเรียนได้ดู แล้วจัดของลงในตระกร้าของเล่นและตระกร้าของจริง มีการใช้กลองตีบอกจังหวะการกระโดด และสร้างแรงจูงใจให้นักเรียนโดยใช้การเล่านิทานและมีตุ๊กตาประกอบ นักเรียนจะสนใจฟังนิทานมาก นักเรียนรู้จัการสังเกตของเล่นและของใช้ ถ้าใครทำไม่ได้ ครูจะถามว่ามีใครจะช่วยบ้างไหม เป็นการฝึกให้นักเรียนมีน้ำใจ รู้จักช่วยเหลือเพื่อนๆ ถ้าใครทำได้ก็จะปรบมือชม นอกจากนี้ครูยังใช้งานประดิษฐ์ คือ ม้วนกระดาษติดกับไม้ เพื่อฝึกกล้ามเนื้อนิ้วมือ ช่วยฝึกสมาธิและพัฒนาการของเด็กด้ว

    การนำไปประยุคให้ให้เหมาะสม

             สามารถนำวิธีการดังกล่าวข้างต้นมาปรับประยุกต์ใช้ในการฝึกการเรียนรู้เรื่องของเล่นและของใช้ให้แก่นักเรียน รวมทั้งการเล่านิทานก็เป็นวิธีการที่เหมาะกับนักเรียนระดับอนุบาลอย่างยิ่ง

    เงื่อนไงสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ
         
              ครูมีทักษะทางด้านดนตรี และงานประดิษฐ์ สามารถนำมาถ่ายทอดให้แก่นักเรียนได้

    วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

    30 กันยายน 25556

    สอนชดเชย

    ...กิจกรรมภายในห้อง  ให้ส่งสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ทั้งงานกลุ่มและเดี่ยว ทั้งหมด....


    ความหมายของสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์

    สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง

    1.  นวัตกรรม หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ตามหลักการ
    และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีผลการทดลองอย่างมีขั้นตอน
    สามารถใช้งานได้จริง เกิดประโยชน์และใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
    ได้
     2.  กรณีที่สิ่งของนั้นๆ มีอยู่เดิม ต้องเป็นการประดิษฐ์และพัฒนา
    ต่อยอดให้ใช้ประโยชน์ได้ดีกว่า สะดวกกว่า ประหยัดกว่า หรือบ่งบอก
    ถึงแนวคิดที่จะพัฒนาต่อไปได้อีก



    ศุกร์ ที่ 27 กันยายน 2556

    สัปดาห์สุดท้ายของการเรียนการสอน

    กิจกรรมภายในชั้นเรียน  cooking >> แกงจืด



    ............................................................................................................

    ส่วนผสมเมนูต้มจืดเต้าหู้ไข่หมูสับ

    หมูบด
     เต้าหู้ไข่แบบหลอด 
    น้ำซุป 
    รากผักชี 
    กระเทียม 
    พริกไทยเม็ด
     ต้มหอม
     คื่นฉ่าย 
    ซอสปรุงรส 
    ซีอิ้วขาว 
    น้ำตาลทราย 



    วิธีทำต้มจืดเต้าหู้ไข่หมูสับ

    1.เตรียมเครื่องหมักหมูค่ะ ก็จะมีกระเทียม พริกไทยเม็ด รากผักชี โขลกละเอียดให้เข้ากันค่ะ  แล้วนำไปหมักกับหมูบดที่เราเตรียมไว้ค่ะ เติมซอสปรุงรส ซีอิ้วขาว และน้ำตาลทราย หมักหมูไว้ซักพัก

    2.หั่นคื่นช่าย ต้นหอม และเต้าหู้ไข่เตรียมไว้

    3.ตั้งน้ำซุปต้มจืดในหม้อไว้ให้เดือด จากนั้นปั้นหมูบดที่เราหมักไว้ให้เป็นก้อน  นำลงไปต้มในหม้อซุป รอจนหมูสุก

    4.ใส่เต้าหู้ไข่ที่เราเตรียมไว้ลงไป รอให้น้ำซุปเดือดอีกครั้ง ปรุงรสด้วยซีอิ้วขาว น้ำตาลทราย ให้ได้รสตามชอบ นำคื่นช่ายและต้นหอมใส่ลงหม้อ แล้วปิดไฟ 

    5.ตักต้มจืดใส่ชามเสิร์ฟร้อนๆ เท่านี้เป็นอันเสร็จค่ะ สำหรับเมนูต้มจืดเต้าหู้ไข่หมูสั




    วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

    วันอาทิตย์ ที่ 15กันยายน 2556



     cooking ไข่เจียว



    สิ่งดีๆที่ได้จากการทำกิจกรรม cooking ไข่เจียว


        บอกเล่าให้ฟังว่า ก่อนที่เด็กๆจะได้ทำcooking ในวันนี้เด็กๆได้ทราบจากการบอกกล่าวมาก่อน คุณครูมีประสบการณ์ในการทำกิจกรรม cooking มาจึงมีการเตรียมพร้อมกิจกรรม ทั้ง เครื่องปรุง วัสดุอุปกรณ์ และความปลอดภัยไว้ล่วงหน้า อย่างต้นหอม ผักแครอตหั่นฝอยก็มาเตรียมตอนเช้าใหม่ๆสดๆ การกันพื้นที่สำหรับให้สังเกตกิจกรรมให้พอสมควรที่เด็กๆจะมองเห็นกระทะเจียวไข่ร้อนๆ การเปลี่ยนแปลงของไข่ที่เกิดขึ้นในกระทะ และได้กลิ่น 

    วันจันทร์ ที่ 9 กันยายน 2556

    บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

    5 แนวทางสอนคิด เติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล


    สอนวิทยาศาสตร์ เด็กวัยอน


               วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือ? ถ้าเด็กๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม? ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร? คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่
         แท้ จริงแล้ววิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของ ตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ

         ผู้ใหญ่ หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการ ค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิด ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย

    ดร.วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เรา คงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็ก เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"

     
    ทั้ง นี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้าวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียน รู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ

         ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็กๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริงๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"

         "สำหรับ ปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบคือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิด เด็กก็อาจจำไปผิดๆ ได้"

        นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้


        สำหรับ ข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็กๆ แต่อย่างใด

        ไม่เพียงแต่ คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดีๆ ข้างต้น อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็กๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน "วิทยาศาสตร์" ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ


    ที่มา.
    http://www.wattanasatitschool.com
    ติดตามรายละเอียดข่าวสารดีๆเพิ่มเติมได้ที่นี่


    วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

    วันจันทร์ ที่ 2 กันยายน 2556

    บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

    กิจกกรมวันนี้คือ  เพื่อนๆแต่ละกลุ่ม ออกมา present งาน สิ่งประดิษฐืของเล่นเข้ามุม โดยมี ชื่อผลงงานดังนี่

    กลุ่มที่ 1  สิ่งประดิษฐ์ของเล่นเข้ามุม  
       >> การมองเห็นผ่านวัตถุโปร่งแสง  โปร่งใส และทึบแสง

    กลุ่มที่ 2 สิ่งประดิษฐ์ของเล่นเข้ามุม
       >> สัตว์ไต่เชือก

    กลุ่มที่ 3  สิ่งประดิษฐ์ของเล่นเข้ามุม  
       >>  เขาวงกรต

    กลุ่มที่ 4  สิ่งประดิษฐ์ของเล่นเข้ามุม  
       >> กีต้ากล่อง

    กลุ่มที่ 5  สิ่งประดิษฐ์ของเล่นเข้ามุม  
       >> วงจรชีวิตสัตว์

    กลุ่มที่ 6  สิ่งประดิษฐ์ของเล่นเข้ามุม  
       >> แสงกระทบวัตถุ




     










    ...................................................................................................





    วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

    วันจันทร์ ที่ 26 สิงหาคม 2556

    บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

    ** ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ ให้นักศึกษา ศึกษาค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมนอกห้องเรียน  
     - ตรวจทานงาน อาทิตย์หน้า presant งาน ( สิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์เข้ามุม )

    ...........................................................................................................................



    วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



     สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กต้องเรียน
              ดังกล่าวแล้วว่าเด็กปฐมวัยเรียนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์  การเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  และสาระวิทยาศาสตร์  ซึ่งสาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กปฐมวัยเรียนประกอบด้วยสาระต่าง ๆ  ที่เป็นสิ่งแวดล้อมรอบตัว  ดังนี้
                    1.  สาระเกี่ยวกับพืช  ได้แก่  พืช  เรื่องที่นำมาเรียนได้แก่  ต้นไม้  ดอกไม้  ผลไม้  การปลูกพืช  การใช้ประโยชน์จากพืช
                   2.  สาระเกี่ยวกับสัตว์  ได้แก่  ประเภทของสัตว์  สวนสัตว์  การเลี้ยงสัตว์
                   3.  สาระเกี่ยวกับฟิสิกส์  เช่น  การจม  การลอย  ความร้อน  ความเย็น
                   4.  สาระเกี่ยวกับเคมี  ได้แก่  รสผลไม้  การละลายของน้ำแข็ง
                   5.  สาระเกี่ยวกับธรณีวิทยา  ได้แก่  ดิน  ทราย  หิน  ภูเขา
                   6.  สาระเกี่ยวกับดาราศาสตร์  ได้แก่  ดวงอาทิตย์  ดวงจันทร์  ดาว  ฤดูกาล
                    หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช  2546  ได้กำหนดสาระทางวิทยาศาสตร์ไว้ในหลักสูตร  เรียกว่า  ธรรมชาติรอบตัว  โดยกำหนดให้เด็กเรียน  สิ่งมีชีวิต  สิ่งไม่มีชีวิต  รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ  เช่น  ฤดูกาล  กลางวัน  กลางคืน  ฯลฯ

    วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

    วันจันทร์ ที่ 19 สิงหาคม 2556

    บันทึกการเรียนครั้งที่ 12


    * พรีเซ้นงาน การทดลองวิทยาศาสตร์ของแต่ละกลุ่ม (กลุ่มละ 2-3 คน)


    การมองเห็นผ่านวัตถุโปร่งแสง  โปร่งใส และทึบแสง

    ทดลอง ลาวา

    ทดลองฟองอากาศ

    ทดลองลูกโปร่งในขวด

    ทดลองการหยดสี

    วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

    วันเสาร์ ที่ 17 สิงหาคม 2556


    บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

    สอนชดเฉย

    .. Present สิ่งประดิษฐ์ของตัวเอง ..


    อุปกรณ์


    1. กระดาษสี 2. หลอด หรือกระดาษม้วน (นํากระดาษนิตยสาร  มาม้วนเป็นแท่งให้แน่น)3. หมุด หรือลวด4. สก็อตเทป


    วิธีทํา


    1.  ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส2. ตัดกระดาษเป็นแนวทแยงมุมจากปลาย สู่ตรงกลางกระดาษ เข้ามามากกว่าครึ่งแผ่นเล็กน้อย 3. พับมุมกระดาษลงมา ทั้ง 4 ด้าน 4. ติดหมุดหรือลวดกับหลอด หรือกระดาษม้วน 5. ใช้สก็อตเทปปิดปลายหมุดให้เรียบร้อย ตรวจดูว่า จะไม่ทําอันตรายต่อลูกได้ (หรืออาจจะหาจุกไม้ชิ้นเล็กๆ มาเสียบกับปลายหมุดก่อน แล้วค่อนติดสก็อตเทป














    ** หมายเหตุ **
        
    จับกลุ่ม ละ 3คน วันจันทร์ ที่ 19 สิงหาคม 2556 Present และนำเสนองาน 

    - ของเล่นเข้ามุม
              - สิ่งทดลองวิทยาศาสตร์

    วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

    วันจันทร์ ที่ 12 สิงหาคม 2556

    บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 11



    << วันแม่ >>


    แม่ หรือ มารดา เป็นคำที่เรียกผู้ให้กำเนิด 
    ตั้งแต่ เด็กจนเติบโตเป็นวัยรุ่น แม่เฝ้าสั่งสอนให้เป็นคนดี ตั้งใจเรียนหนังสือ และแม่ก็ให้ความรักอย่างจริงใจ แม้ว่าสิ่งที่เคยทำผิดพลาดไปนับครั้งไม่ถ้วน แม่ก็ยังให้อภัยลูกคนนี้เสมอ และยังมอบรอยยิ้มทั้ง ๆ ที่แม่ ก็ต้องเสียน้ำตา ความผิดของลูกไม่ว่าจะครั้งไหน ร้ายแรงสักเพียงใด แม่ก็ยังพร้อมที่จะอ้าแขนกอดลูก ด้วยความรักเสมอมา
    ในวันนี้ ที่ลูกประสบความสำเร็จทั้งการเรียน และการงาน ได้มีโอกาสได้ตอบแทนพระคุณแม่ แม้ว่ามันจะเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยถ้าเทียบกับสิ่งที่ได้รับจากแม่ แต่ลูกคนนี้ก็จะขอสัญญาว่าจะไม่ทำให้แม่เสียใจอีกต่อไป จะดูแลแม่ให้เหมือนที่แม่ดูแลลูกเมื่อยังเล็ก จะไม่ให้แม่ต้องเหนื่อย ทั้งกายและใจกับลูกคนนี้ และจะรักแม่ให้มากกว่ารักตัวเอง….. รักแม่ค่ะ

    วันจันทร์ ที่ 5 สิงหาคม 2556

    บันทึกการเรียนครั้งที่ 9


    **สัปดาห์การสอบ**

    วันจันทร์ ที่ 29 กรกฎาคม 2556

    บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8





    ...สัปดาห์สอบกลางภาค..


    วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

    วันจันทร์ ที่ 22 กรกฎาคม2556


    บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

    วันอาสาฬหบูชา


    ***  วันอาสาฬหบูชา หรือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ตรัสรู้เป็นครั้งแรก จึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก และด้วยการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถ แสดง เปิดเผย ทำให้แจ้ง แก่ชาวโลก ซึ่งพระธรรมที่ตรัสรู้ได้ จึงถือได้ว่าพระองค์ได้ทรงกลายเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ คือทรงสำเร็จภารกิจแห่งการเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น "สัมมาสัมพุทธะ" คือเป็นพระพุทธเจ้าผู้สามารถแสดงสิ่งที่ตรัสรู้ให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ซึ่งแตกต่างจาก "พระปัจเจกพุทธเจ้า" ที่แม้จะตรัสรู้เองได้โดยชอบ แต่ทว่าไม่สามารถสอนหรือเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระธรรม"


    วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

    วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

    วันจันทร์ ที่ 8 กรกฎาคม2556

    บันทึกครั้งที่ 4


      


     VDO มหัศจรรย์ ของ น้ำ

    ............................................................................





    การเคลื่อนที่ของอากาศ และการเกิดแรง

          การเคลื่อนที่ของอากาศทำให้เกิดแรง  อากาศมีอยู่ทั่วไปรอบตัวเรา มันจะมองไม่เห็น  แต่เมื่อเกิดการเคลื่อนมันจะมี อำนาจในการเคลื่อนย้ายทางอากาศสูงอย่างน่าใจหาย ตัวอย่างชัดเจนเช่นการเกิดพายุทอร์นาโดหรือพายุเฮอริเคน  ต้นไม้ถูกถอน  บ้านและรถถูกยกลอยขึ้นราวกับของเล่น
        อากาศดูเหมือนว่าไม่มีน้ำหนัก แต่อากาศที่อยู่รอบตัวคุณมีน้ำหนักประมาณเดียวกับที่คุณออกแรงกระทำ  ในความเป็นจริงอากาศทั้งหมดของในโลกมีน้ำหนักประมาณ  11 quintillion
    สำคัญที่สุดเช่นเดียวกัน อากาศถูกสร้างขึ้นจากอนุภาคเล็ก ๆ เรียกว่าโมเลกุล  ในของแข็งหรือของเหลวโมเลกุลอยู่ด้วยกันอย่างหนาแน่น  แต่ในก๊าซเช่นอากาศ โมเลกุลอยู่ห่างไกลกันและไปมาอย่างรวดเร็ว ความเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลของอากาศในห้องประมาณ 1,130 ไมล์ต่อวินาที
       เมื่อโมเลกุลอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงจากบางสิ่งบางอย่าง เช่นเมื่อดันมือออกไปเพียงเล็กน้อยอากาศจะกลับมาแทนที่อากาศที่ถูกดันออกไปทันที  ผลการเคลื่อนที่ของเพียงหนึ่งโมเลกุลเล็กๆมาแทนที่นั้นก่อให้เกิดแรงกดหรือแรงดัน โดยสัมผัสจากความรู้สึกได้จากโมเลกุลของอากาศเป็นพันพันล้านที่อยู่รอบมือที่มีการเคลื่อนที่  โมเลกุลของอากาศจะเกิดการแทรกสอดกับด้านอื่นๆของมือ ทุกวินาที


    วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

    วันจันทร์ที่1กรกฎาคม2556

    บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


    ** สรุปความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ **











    การเรียนรู้ > ความหมาย > การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 



    พฤติกรรมต่าง ๆ ของแสง


     1. การสะท้อน (Reflection) เป็นพฤติกรรมที่แสงตกกระทบบนตัวกลางและสะท้อนตัวออก ถ้าตัวกลางเป็นวัตถุผิวเรียบขัดมัน จะทำให้มุมของแสงที่ตกกระทบจะมีค่าเท่ากับมุมสะท้อน

    2. การหักเห (Refraction) เป็นพฤติกรรมที่ลำแสงหักเหออกจากแนวทางเดินของมัน เมื่อพุ่งผ่านวัตถุโปร่งแสง

    3. การกระจาย (Diffusion) เป็นพฤติกรรมที่แสงจะกระจายตัวออกเมื่อกระทบถูกผิวของตัวกลาง เราใช้ประโยชน์จากการกระจายตัวของลำแสง เมื่อกระทบตัวกลางนี้ เช่น ใช้แผ่นพลาสติกใสปิดดวงโคม เพื่อลดความจ้าจากหลอดไฟ

    4. การดูดกลืน (Absorbtion) เป็นพฤติกรรมที่แสงถูกดูดกลืนหลายเข้าไปในตัวกลาง โดยทั่วไปเมื่อพลังงานแสงถูกดูดกลืนหายเข้าไปในวัตถุใด ๆ มันจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน

    5. การทะลุผ่าน (Transmission) เป็นพฤติกรรมที่แสงพุ่งชนตัวกลางแล้วทะลุผ่านมันออกไปอีกด้านหนึ่ง

    6. การส่องสว่าง (Illumination) ปริมาณแห่งการส่องสว่างบนพื้นผิวใด ๆ จะแปรตามโดยตรงกับความเข้มแห่งการส่องสว่าง (Illumination Intensity) ของแหล่งกำเนิดแสงและแปรตามอย่างผกผันกับค่าระยะทางยกกำลังส่องระหว่างพื้นผิวนั้นกับแหล่งกำเนิดแสง

    7. ความจ้า (Brighten) ความจ้าเป็นผลซึ่งเกิดจากการที่แสงถูกสะท้อนออกจากผิววัตถุ หรือพุ่งออกจากแหล่งกำเนิดแสงเข้าสู่ตา














    วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

    วันจันทร์ ที่ 24 มิถุนายน 2556

    บันทึกการเรียนครั้งที่ 2




    ..พัฒนาการทางสติปัญญา..

    - ความสาสมรถ ความคิด
    - การมีปฎิสัมพันธ์
    - ทำให้เด็กรู้จัก ตน ( self )
    - ความสมดุล / สิ่งแวดล้อม
    - เกิดความสมดุลระหว่างบุคคล

    ...กระบวนการปฎิสัมพันธ์ ( interction ) ประกอบด้วย 2 กระบวนการ...

     1) กระบวนการดูดซึม ( assimilation )
       
         - ดูดซึมประสบการณ์ใหม่ๆ หรือ รับข้อมูลจากสิ่งต่างๆรอบตัว

    2) กระบวนการปรับโครงสร้าง ( attmmodation )

       - การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเชาร์ปัญญาที่มรอยู่แล้ว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม หรือ ประสบการณ์ใหม่ๆ

    ...การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลระหว่างอินทรีย์ กับ สิ่งแวดล้อม...
          
    - ปรับโครงสร้างโครงคิด ให้สอดคล้องกับประสบการณ์ที่ได้รับเข้ามา
    - ปรับแนวคิดและพฤติกรรม ทำให้เกิดโครงสร้างทางสติปัญญา

    ...กองบัญชาการของร่างกาย >> ความคิด ความรู้สึก...

    - การเรียนรู้เกดจากเส้นใยประสาทของสมองที่เชื่อมโยงเข้าหากัน
    - ทำให้เด็กเกิดความคิด เพื่อให้เส้นใยของประสาทเชื่อมต่อกันในเซลล์ต่างๆ

    ...ความหมายของวิทยาสาสตร์...

    - วิทยาศาสตร์ คือ การศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติโดยทั่วไปประกอบด้วย ตัวความรู้ และ กระบวนการที่ใช้ในการค้นหาความรู้อย่างมีระบบ


    วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

    จันทร์ ที่ 17 มิถุนายน 2556

    > ครั้งที่ 1 <


    ... สัปดาห์แรกของการเรียน...





    # พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ของแต่ละช่วงอายุ ^^ ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกว่าเด็กสามารถทำอะไรได้บ้างในแต่ละช่วงอายุนั้นๆ

                                                                         >>> ... อาจารย์จินตนา สุขสำราญ<<<